วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

การเลือกตั้งกับโลกโซเชียลมีเดีย


        ก่อนอื่นก็ขอออกตัวก่อนว่าโพสนี้ไม่ได้จะมาเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านไปลงคะแนนเสียงเลือกพรรคใดพรรคหนึ่งแต่เป็นการเขียนถึงในเชิงของปรากฏการณ์สมัยที่เกิดขึ้นกับวงการการเมืองของไทยโดยมีอินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมอนนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และจะมาพูดถึงว่าแต่ละฝ่ายนั้นมีการใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการสร้างคะแนนนิยมให้กับบุคคลหรือว่าพรรคการเมืองต่างๆ jafra thailand
        และแล้วก็มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่จะถึงนี้ เชื่อว่าข่าวดังกล่าวที่ทาง กกต. หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศออกมาน่าจะสร้างความพึงพอใจให้กับทุกๆฝ่ายเพราะก่อนหน้านี้ที่ยังไม่มีการประกาศวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการนั้น ก็เริ่มที่จะมีกลุ่มคนออมาเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการประกาศวันเลือกตั้งนั้นเอง สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตุเห็นในการเลือกตั้งครั้งที่จะมาถึงนั้นก็คือเวลาที่เล่น facebook มักจะปรากฏโฆษณาเป็นเพจส่วนตัวของผู้ที่จะลงสมัครเป็น ส.ส. หลายต่อหลายคน จึงคิดว่านี้ก็เป็นการตลาดรูปแบบหนึ่งที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้อย่างมากขึ้นนั้นเอง นอกจากการมีการสร้างเพจ facebook ของตัวเองแล้วพรรคการเมืองต่างยังมีการทำกิจกรรมอื่นๆที่หลากหลายบนโลกออนไลน์เพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วยอย่างเช่น การถ่ายทอดสดกิจกรรมต่างๆของทางพรรคผ่าน facebook  หรือการ Live สดต่างๆเป็นต้น จะเห็นว่ามีการใช้สื่อสังคมออนไลน์มาเป็นเครื่องมือในการสร้างความนิยมมากยิ่งขึ้นนั้นเอง และประชาชนออนไลน์เองก็มีวิจารณญาณที่มากขึ้นในการรับข้อมูลข่าวสารพวกเขาจะรับข้อมูลจากหลายๆที่แล้วทำการเปรียบเทียบว่าอันไหนจริงหรือไม่จริง ดังนั้นข้อมูลข่าวสารต่างๆที่ออกมาจากต้นทางจะต้องเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องและก็ตรงไปตรงมาไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะกลายเป็นผลเสียแทนผลดีก็เป็นไปได้ ซึ่งหากมีการแต่งเรื่องเพื่อให้เรื่องราวของตัวเองนั้นดูดีเพื่อหวังคะแนนความนิยม อาจจะโดนจับผิดซึ่งหากข้อจับผิดนั้นเป็นจริงแล้วละก็จากที่จะได้คะแนนเสียงอาจจะต้องกลายเป็นเสียคะแนนเสียงไปแทน jafra thailand
        ซึ่งในโลกออนไลน์นั้นเป็นการสื่อสารแบบสองทางคือเมื่อแสดงความคิดเห็นหรือโพสเรื่องราวอะไรลงไปก็แล้วแต่คนทั่วไปก็สามารถที่จะมาแสดงความคิดเห็นได้ทำให้เรานั้นสามารถที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าฝั่งไหนได้รับความนิยมมากกว่ากันนั้นเอง และหากพรรคการเมืองได้ติดตามข้อมูลเหล่านี้อย่างใกล้ชิดแล้วละก็พวกเขาก็จะสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน แต่อย่าลืมว่าประเทศไทยนั้นไม่ได้มีแต่คนที่อยู่ในโลกออนไลน์เท่านั้นคนที่ยังเป็นคนสมัยเก่าอยู่ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับโลกออนไลน์เขาเหล่านั้นก็ยังมีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนได้อยู่เช่นเดียวกัน ซึ่งก็ต้องรอดูรอชมกันต่อไปว่ากระแสหรือความนิยมชมชอบที่มีการแสดงออกบนโลกออนไลน์นั้นจะสอดคล้องกับผลการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือพลังของคนที่อยู่นอกโลกออนไลน์จะมีพลังที่มากกว่ากันแน่ ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับพรรคการเมืองต่างเป็นอย่างมากในการวัดสถิติต่างๆ เพราะนอกจากคนที่แสดงออกซึ่งความคิดความเห็นในเรื่องของการเมืองในโลกออนไลน์อย่างชัดเจนแล้วก็ยังมีคนมีกประเภทที่เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของข่าวการเมื่องต่างๆอย่างต่อเนื่องแต่ไม่ได้แสดงออก คนพวกนี้เขาจะรับข้อมูลทั้งสองฝั่งและมีการตัดสินใจไว้แล้วแต่ไม่ได้แสดงออกมา จนถึงวันเลือกตั้งถึงจะรู้ ดังนั้นสิ่งที่พรรคการเมืองทำได้ในขณะนี้นั้นก็คือการที่ให้ข้อมูลที่ดีที่สุดและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้สารที่ต้องการจะสื่อนั้นได้เดินทางไปถึงผู้คนในโลกออนไลน์ได้มากที่สุดนั้นเอง การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการนำเสนอตัวเองผ่านโลกออนไลน์มากที่สุดกว่าครั้งที่ผ่านๆมา เพราะว่าครั้งที่ผ่านๆมานั้นการหาเสียงเลือกตั้งก็จะเป็นการหาโดยใช้วิธีการเก่าๆซะมากกว่า อันได้แก่ การปราศัยบนเวที การใช้รถแห่ประกาศหาเสียไปยังพื้นที่ต่างๆนั้นเอง